ประวัติของวิชาเส้นลายมือ
Katherine St. Hill

Katherine St. Hill (1890) ก่อตั้ง สมาคมหัตถศาสตร์กรุงลอนดอน (London Cheirological Society) ขึ้นในปี 1889 ซึ่งเป็นสมาคมแห่งแรกในโลกที่มุ่งศึกษาค้นคว้าแง่มุมต่างๆ ของการวิเคราะห์เส้นลายมือ และยกระดับให้เป็นรูปแบบของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ Katherine St. Hill ยังได้เขียนหนังสือไวยกรณ์แห่งวิชาเส้นลายมือ (The Grammar of Palmistry) ขึ้นในปี 1889 เพื่อเป็นแบบเรียนขั้นต้นที่ทางสมาคมฯ ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งรวมคำสอนพื้นฐานของ Stanislas D’Arpentigny กับ Adrien Adolphe Desbarolles และเธอก็ได้สรุปคุณสมบัติในทางจิตวิทยา ทั้งที่เป็นลักษณะดีและลักษณะด้อยต่างๆ ว่าฝ่ามือสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

http://www.johnnyfincham.com/history/ksthill.htm

Noel Jaquin

Noel Jaquin (1893-1974) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางการวินิจฉัยชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่บ่งชี้ถึง ลักษณะพิเศษที่ปรากฏบนสันนิ้ว ในปี 1958 และได้ทำการยืนยันความเป็นแตกต่างของแต่ละลักษณะฯ โดยใช้การเปรียบเทียบจากแต่ละสันนิ้วที่แตกต่างกัน

Noel Jaquin จึงเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดทางการพัฒนาการวินิจฉัยทางหัตถศาสตร์ ในศตวรรษที่ผ่านมาเขามีความสำคัญเป็นอย่างมากในฐานะผู้บุกเบิกทางด้านการวิเคราะห์สุขภาพ กับการประเมินทั้งทางเพศและทางอารมณ์จากฝ่ามือ และเขาได้ทุ่มเทอย่างมากให้กับทุกแง่มุมของวิชาหัตถศาสตร์ โดยงานของเขาเป็นดั่งผืนผ้าใบกว้างๆ ที่เป็นภาพร่างอันครอบคลุมขอบเขตของศักยภาพของวิชาวินิจฉัยฝ่ามือไว้ทั้งหมด

http://www.johnnyfincham.com/history/jaquin.htm

Dr. Howard Gardner

Dr. Howard Gardner (เกิดในปี 1943) เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการชาวอเมริกันและศาสตราจารย์แห่ง John H. and Elisabeth A. Hobbs ในวิชากระบวนการรู้การเข้าใจกับการศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยในปัจจุบันเขายังเขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสของโครงการ Harvard Project Zero

การ์ดเนอร์ได้ทำการเขียนบทความวิจัยหลายร้อยชิ้น และเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องทฤษฎีพหุปัญญา ซึ่งถูกรวบรวมอยู่ในหนังสือ Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences (1983)

จากทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ มนุษย์เรามีวิธีการประมวลผลข้อมูลที่แตกต่างกันหลายวิธี และวิธีการเหล่านี้ก็ค่อนข้างเป็นอิสระจากกัน ทฤษฎีนี้เป็นบทวิจารณ์ของทฤษฎีของภูมิปัญญาตามแบบมาตรฐาน ซึ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะต่างๆ รวมทั้งมาตรวัดแบบดั้งเดิม เช่น การทดสอบไอคิว ที่โดยทั่วไปจะใช้อธิบายได้แค่ความสามารถทางด้านภาษา, ตรรกะ และในเชิงมิติสัมพันธ์ และนับตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา การ์ดเนอร์ได้ระบุจำแนกความสามารถไว้เป็น 8 ประเภท: ด้านภาษาศาสตร์, ด้านตรรกศาสตร์-คณิตศาสตร์, ทางดนตรี, เชิงมิติสัมพันธ์, ทางร่างกาย-การเคลื่อนไหว, ด้านมนุษย์สัมพันธ์, ด้านการเข้าใจตัวเอง และด้านธรรมชาติวิทยา โดยต่อมายังได้ร่วมกับเพื่อนในวงวิชาการ เพิ่มความสามารถประเภทการคิดใคร่ครวญ กับในเชิงวิธีการสอนเข้าไปด้วย

ในปัจจุบัน ครูอาจารย์, บุคลากรโรงเรียน และผู้ให้การศึกษาในรูปแบบพิเศษต่างๆ ต่างก็ได้รับการบันดาลใจและชี้แนะจากทฤษฎีของการ์ดเนอร์ ในการประเมินความสามารถส่วนบุคคล ว่ามีวิธีการประเมินลักษณะเด่นของแต่ละคนมากกว่าแค่เพียงไม่กี่ประเภท

https://en.wikipedia.org/wiki/Howard_Gardner

รายชื่อหนังสืออ้างอิง

Finger Prints, Palms and Soles: an Introduction to Dermatoglyphics (Harold Cummins, Charles Midlo, 1963)

งานศึกษาชิ้นบุกเบิกงานทางด้านการศึกษาลายนิ้วมือ ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1943

Dermatoglyphics in Medical Disorder (Blanka Schaumann, Milton Alter, 1976)

ให้แนวทางที่แสดงถึงการวิเคราะห์สันนิ้วมือ และรวบรวมข้อมูลทั้งล่าสุดและดั้งเดิมที่กระจัดกระจายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการศึกษาลายนิ้วมือในส่วนของความผิดปกติทางการแพทย์ ในศตวรรษที่ผ่านมา ความจริงที่ว่าสันนิ้วมือของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะต่างกันนั้น ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการระบุตัวบุคคล และความสนใจทางการแพทย์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับชั้นหนังกำพร้าของผิวหนังก็ได้พัฒนาขึ้น เฉพาะในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อมีการพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความผิดปกติของโครโมโซม จะมีการก่อตัวของสันผิวหนังที่ผิดปกติ ดังนั้นการตรวจสอบบริเวณผิวหนังจึงเป็นวิธีการที่ง่ายและถูก สำหรับการพิจารณาว่าผู้ป่วยอาจมีข้อบกพร่องเฉพาะทางโครโมโซมเฉพาะหรือไม่ในบางกรณีด้วย

Trends in Dermatoglyphic Research (B. A. Schaumann, R. J. Meier, 1989)

ผลงานอัพเดทโดยย่อของพัฒนาการและเทรนด์ในงานวิจัยทางการศึกษาลายนิ้วมือในระหว่างปี 1980-87 ซึ่งพูดถึงประเด็นการศึกษาทางมานุษยวิทยาพันธุกรรม, การแพทย์และการพัฒนารูปแบบสันผิวกับรอยย่นงอ รวมถึงความแปรปรวนทางลายนิ้วมือ, วิธีการศึกษาและจำแนกแบบใหม่ๆ และการทดลองวิจัยกับสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์ใกล้เคียงต่างๆ ด้วย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จอันเฉพาะเจาะจง, วิธีการใหม่ๆ และแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่ในด้านต่างๆ ของการวิจัยทางผิวหนังกับลายนิ้วมือ

The State of Dermatoglyphics: The Science of Finger and Palm Prints (Norris Durham, 2000)

ผลงานรวบรวมกรณีศึกษาต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่หลากหลายที่สามารถใช้การศึกษาลายนิ้วมือ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาต่างๆ จากความผันแปรแตกต่างของมนุษย์แต่ละคนได้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของวิชาการศึกษาลายนิ้วมือ ในฐานะเป็นเครื่องมือศึกษาการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และตัวเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ของประชากรได้ และยังมีนัยยะสำคัญไม่แพ้กัน ในการให้เบาะแสใหม่ๆ เกี่ยวกับความอ่อนแอของแต่ละบุคคลต่อต่อโรคภัย, ความเสี่ยงทางสุขภาพ, และปัญหาทางลักษณะนิสัยต่างๆ ที่หลากหลายต่างกันไปอีกด้วย

Paul T. Baker, ศาสตราจารย์ตำแหน่ง Evan Pugh Professor Emeritus แห่งภาควิชา/คณะมานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัย Pennsylvania State University